Carryrmu’s Blog

Just another WordPress.com weblog

GNU/GPL คืออะไร เมษายน 27, 2009

Filed under: Uncategorized — carryrmu @ 3:03 am

GNU General Public License (GNU-GPL) คือ สัญญาอนุญาตให้ใช้ซอฟต์แวร์ หรือไลเซนส์ แบบหนึ่ง ซึ่งสงวนลิขสิทธิ์ของซอฟต์แวร์นั้น แต่อนุญาตให้บุคคลใดๆทำซ้ำ เผยแพร่ และ/หรือดัดแปลงซอฟต์แวร์นั้นได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย และโดยเสรี

GNU General Public License มีจุดมุ่งหมายเพื่อประกันเสรีภาพของคุณในการแบ่งปันและแก้ไข “ฟรีซอฟต์แวร์” หรือ “ซอฟต์แวร์เสรี” (Free Software) เพื่อทำให้แน่ใจว่าซอฟต์แวร์จะเป็นสิ่งที่เสรีสำหรับผู้ใช้ทุกคน

สัญญาอนุญาตให้ใช้ซอฟต์แวร์ส่วนใหญ่ได้รับการออกแบบมาเพื่อริดรอนเสรีภาพของคุณในการแบ่งปันและแก้ไขซอฟต์แวร์. ในทางกลับกัน GNU General Public License มีจุดมุ่งหมายเพื่อประกันเสรีภาพของคุณในการแบ่งปันและแก้ไขซอฟต์แวร์เสรี (free software) เพื่อทำให้แน่ใจว่าซอฟต์แวร์จะเป็นสิ่งที่เสรีสำหรับผู้ใช้ทุกคน. General Public License คือสัญญาอนุญาตให้สาธารณชนใช้สิทธิตามลิขสิทธิ์ที่ได้รับการนำมาใช้กับซอฟต์แวร์ส่วนใหญ่ของ Free Software Foundation และโปรแกรมใดก็ตามที่ผู้สร้างสรรค์ยึดมั่นต่อการใช้สัญญานี้. (มีซอฟต์แวร์บางชิ้นของ Free Software Foundation ที่ครอบคลุมโดย GNU Library General Public License แทน.) คุณเองก็สามารถใช้สัญญานี้กับโปรแกรมของคุณได้เช่นเดียวกัน.

ซอฟต์แวร์ที่ให้ไปพร้อมกับซอร์สโค้ด
ซอร์สโค้ด คือ ซอฟต์แวร์ต้นฉบับ โดยจะต้องสามารถอ่านเข้าใจ และอยู่ในรูปแบบที่สามารถปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมได้
ผู้ใช้ซอฟต์แวร์ Open Source มีอิสระในการนำไปใช้ นำไปแจกจ่าย และปรับปรุงแก้ไข โดยจะคิดค่าใช้จ่ายหรือไม่ก็ได้ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขในการอนุญาต

เอกสารอ้างอิง: The Open Source Initiative (OSI). The Open Source Definition.

ซอฟต์แวร์ Open Source ต่างกับซอฟต์แวร์อื่นอย่างไร?
    * โดยทั่วไปรูปแบบของไลเซนต์ และการแจกจ่ายซอฟต์แวร์มีหลายรูปแบบ โดยสามารถจำแนกได้ตามเกณฑ์ 2 ด้าน คือ
         1. การให้พร้อมซอร์สโค้ด
         2. การคิดค่าใช้จ่าย

    * ซอร์สโค้ด หมายถึง รหัสซอฟต์แวร์ต้นฉบับที่เขียนโดยภาษาระดับสูง ซึ่งแตกต่างจากไบนารีโค้ด เพราะซอฟต์แวร์ Open Source เปิดเผยโครงสร้าง และลอจิกของโปรแกรม
    * ซอฟต์แวร์ที่ให้เฉพาะไบนารีโค้ดอย่างเดียว เรียกว่า ซอฟต์แวร์ปิด (closed source)

ไลเซนต์ Open Source ต่างกับไลเซนต์อื่นอย่างไร?
คำว่า “Open Source” หรือ “Free Software” ไม่เพียงพอสำหรับอธิบายไลเซนต์ของซอฟต์แวร์ โดยทั่วไปส่วนที่สำคัญของลิขสิทธิ์ (Copyright) จะอธิบายเกี่ยวกับสิทธิ์ในการทำสำเนา การแจกจ่าย และการดัดแปลง

สำหรับไลเซนต์ของโอเพ่นซอร์สจะเน้นใน 2 ประเด็น คือ

           1. การยกเลิกค่าไลเซนต์ซอฟต์แวร์
           2. การให้ซอร์สโค้ดมาพร้อมกับซอฟต์แวร์

        * สิ่งที่ทำให้ไลเซนต์ของโอเพ่นซอร์สแตกต่างจากไลเซนต์อื่นๆ ก็คือ หลักการของ “Copyleft” โดย Copyleft จะมีข้อจำกัดอยู่ว่า ถ้ามีการพัฒนาซอฟต์แวร์เพิ่มเติมจากต้นฉบับ แล้วซอฟต์แวร์ตัวใหม่ต้องใช้ไลเซนต์เดียวกับต้นฉบับด้วย
        * ไลเซนต์ Copyleft ที่สำคัญของซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์ส ก็คือ GPL

Public Domain
          การกำหนดไลเซนต์เป็น “Public Domain” หมายถึง การยกเลิกลิขสิทธิ์ หรือ “Copyright”

          o นิยามของ Public Domain อาจจะใช้ได้กับบางประเทศ เช่น อเมริกา แต่สำหรับบางประเทศเช่น เยอรมันจะใช้ไม่ได้ เพราะว่าจะไปขัดกับ German right
          o ในอเมริกาส่วนใหญ่จะใช้ไลเซนต์นี้กับซอฟต์แวร์ที่พัฒนาโดยสถาบันการศึกษา หรือสถาบันวิจัย ซึ่งส่วนใหญ่ทางรัฐบาลจะเป็นผู้ให้เงินสนับสนุน ผู้ใช้ในอเมริกาจะสามารถนำไปใช้ได้โดยไม่มีข้อจำกัดใดๆ และอนุญาตให้นำไปทำเป็น Commercial Domain ได้ด้วย

Shareware
          จุดมุ่งหมายของ Shareware ก็คือ ความพยายามที่จะให้มีการนำเอาซอฟต์แวร์ไปใช้ให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ Shareware จะให้เฉพาะไบนารีโค้ด และให้ใช้ซอฟต์เพียงช่วงเวลาสั้นๆ เท่านั้น เมื่อหมดเวลาทดลองใช้แล้ว ถ้าต้องการใช้ต่อก็ต้องเสียค่าใช้จ่าย

Freeware
          เป็นไลเซนต์ที่ให้เฉพาะไบนารีโค้ดโดยไม่คิดค่าธรรมเนียมในการใช้งาน และเป็นไปได้ที่จะอนุญาตให้เฉพาะส่วนตัว หรือที่ไม่ใช้ในทางธุรกิจ ส่วนใหญ่บริษัทจะใช้ Freeware ในการโปรโมทผลิตภัณฑ์รอบๆ ข้าง เช่น ไมโครซอฟต์มี Internet Exploror เป็น Freeware เพื่อเป็นกลยุทธ์ในการครองตลาด เป็นต้น

 

ลีนุกซ์(Linux) คืออะไร เมษายน 23, 2009

Filed under: Uncategorized — carryrmu @ 7:34 am

ลีนุกซ์คืออะไร
ลีนุกซ์ระบบปฏิบัติการแบบ 32 บิต ที่เป็นยูนิกซ์โคลน สำหรับเครื่องพีซี และแจกจ่ายให้ใช้ฟรี สนับสนุนการใช้งานแบบหลากงาน หลายผู้ใช้ (MultiUser-MultiTasking) มีระบบ X วินโดวส์ ซึ่งเป็นระบบการติดต่อผู้ใช้แบบกราฟฟิก ที่ไม่ขึ้นกับโอเอสหรือฮาร์ดแวร์ใดๆ (มักใช้กันมากในระบบยูนิกซ์) และมาตรฐานการสื่อสาร TCP/IP ที่ใช้เป็นมาตรฐานการสื่อสารในอินเทอร์เนตมาให้ในตัว ลีนุกซ์มีความเข้ากันได้ (compatible) กับ มาตรฐาน POSIX ซึ่งเป็นมาตรฐานอินเทอร์เฟสที่ระบบยูนิกซ์ส่วนใหญ่จะต้องมีและมีรูปแบบบางส่วนที่คล้ายกับระบบปฏิบัติการยูนิกซ์จากค่าย Berkeley และ System V โดยความหมายทางเทคนิคแล้วลีนุกซ์ เป็นเพียงเคอร์เนล (kernel) ของระบบปฏิบัติการ ซึ่งจะทำหน้าที่ในด้านของการจัดสรรและบริหารโพรเซสงาน การจัดการไฟล์และอุปกรณ์ I/O ต่างๆ แต่ผู้ใช้ทั่วๆไปจะรู้จักลีนุกซ์ผ่านทางแอพพลิเคชั่นและระบบอินเทอร์เฟสที่เขาเหล่านั้นเห็น (เช่น Shell หรือ X วินโดวส์) ถ้าคุณรันลีนุกซ์บนเครื่อง 386 หรือ 486 ของคุณ มันจะเปลี่ยนพีซีของคุณให้กลายเป็นยูนิกซ์เวอร์กสเตชันที่มีความสามารถสูง เคยมีผู้เทียบประสิทธิภาพระหว่างลีนุกซ์บนเครื่องเพนเทียม และเครื่องเวอร์กสเตชันของซันในระดับกลาง และได้ผลออกมาว่าให้ประสิทธิภาพที่ใกล้เคียงกัน และนอกจากแพลตฟอร์มอินเทลแล้ว ปัจจุบันลีนุกซ์ยังได้ทำการพัฒนาระบบเพื่อให้สามารถใช้งานได้บนแพลตฟอร์มอื่นๆด้วย เช่น DEC Alpha , Motorolla Power-PC , MIPS เมื่อคุณสร้างแอพพลิเคชันขึ้นมาบนแพลตฟอร์มใดแพลตฟอร์มหนึ่งแล้ว คุณก็สามารถย้ายแอพพลิเคชันของคุณไปวิ่งบนแพลตฟอร์มอื่นได้ไม่ยาก ลีนุกซ์มีทีมพัฒนาโปรแกรมที่ต่อเนื่อง ไม่จำกัดจำนวนของอาสาสมัครผู้ร่วมงาน และส่วนใหญ่จะติดต่อกันผ่านทางอินเทอร์เนต เพราะที่อยู่อาศัยจริงๆของแต่ละคนอาจจะอยู่ไกลคนละซีกโลกก็ได้ และมีแผนงานการพัฒนาในระยะยาว ทำให้เรามั่นใจได้ว่า ลีนุกซ์เป็นระบบปฏิบัติการที่มีอนาคต และจะยังคงพัฒนาต่อไปได้ตราบนานเท่านาน

จุดเด่นของ LINUX
1. เป็นระบบที่ใช้ได้ฟรี
2. เป็นระบบปฏิบัติการแบบเปิด
3. คอมแพติเบิลกับ Unix
4. ทำงานได้บน PC ทั่วไป
5. ทำงานร่วมกับ DOS และ Windows ได้
6. ใช้แฟ้มร่วมกับระบบปฏิบัติการอื่นได้
7. มีความสามารถด้าน network หลายรูปแบบ
8. มีประสิทธิภาพสูงในการใช้ Hardware
9. Kernel มีประสิทธิภาพสูง
10. มีการใช้ Dynamic linked shared libraries
11. การช่วยเหลือเมื่อเกิดปัญหา

 

web server คืออะไร

Filed under: Uncategorized — carryrmu @ 7:15 am

ความหมาย
เว็บเซิร์ฟเวอร์ (Web Server) คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องบริการเว็บแก่ผู้ร้องขอด้วยโปรแกรมประเภทเว็บบราวเซอร์ (Web Browser) ที่ร้องขอข้อมูลผ่านโปรโตคอลเฮชทีทีพี (HTTP = Hyper Text Transfer Protocol) เครื่องจะส่งข้อมูลให้ผู้ร้องขอในรูปของข้อความ ภาพ เสียง หรือสื่อผสม เครื่องบริการเว็บจะเปิดบริการพอร์ท 80 (HTTP Port) ให้ผู้ร้องขอได้เชื่อมต่อผ่านโปรแกรมประเภทเว็บบราวเซอร์ เช่น โปรแกรมอินเทอร์เน็ตเอ็กโพเลอร์ (Internet Explorer) หรือฟายฟร็อก (FireFox Web Browser) แล้วแจ้งชื่อที่ร้องขอในรูปของที่อยู่เว็บ (Web Address หรือ URL = Uniform Resource Locator) เช่น http://www.google.com หรือ http://www.thaiall.com เป็นต้น โปรแกรมที่นิยมนำใช้เป็นเครื่องบริการเว็บ ได้แก่ อาปาเช่ (Apache Web Server) และไมโครซอฟท์ไอไอเอส (Microsoft IIS = Internet Information Server) ส่วนบริการที่มักติดตั้งเพิ่มเพื่อทำให้เครื่องบริการทำงานได้ตรงกับความต้องการของผู้บริหารระบบ (Administrator) เช่น ตัวแปลภาษาสคริปต์ ระบบฐานข้อมูล ระบบจัดการผู้ใช้ เป็นต้น
+ เปรียบเทียบความนิยมต่อเว็บเซิร์ฟเวอร์ของแต่ละบริษัท http://news.netcraft.com/archives/web_server_survey.html 
สารบัญ 1. PWS เป็น Web Server [ Win98 , WinMe ]
2. IIS บน Windows เป็น Web Server
3. APACHE Web Server เป็น Web Server
4. AppServ เป็น Web Server
5. OmniHttpd เป็น Web Server
6. TOMCAT สำหรับ JSP เป็น Web Server
7. MySQL Server
8. MsSQL Server (Microsoft SQL Server)
9. MYSQL-Front เพื่อจัดการ MySQL Server
10. phpMyAdmin เพื่อจัดการ MySQL Server
11. PHP ใน Apache Web Server  12. PHP ใน IIS หรือ PWS
13. Perl ใน PWS หรือ Apache
14. Moodle (มูเดิ้ล) for CMS + LMS (PHP + MySQL)
15. YABBSE.ORG for WebBoard (PHP + MySQL)
16. PHP-Nuke by apples (PHP + MySQL)
17. phpBB2 Forum (PHP + MySQL)
18. Postnuke for CMS (PHP + MySQL)
19. Mambo for CMS (PHP + MySQL)
20. Oscommerce for e-Commerce (PHP + MySQL)
21. WebWiz Forum (ASP + MDB)
22. Photo Gallery 2 (PHP + MySQL)
23. WebCalendar (PHP + MySQL)

 

ประวัติส่วนตัว เมษายน 8, 2009

Filed under: Uncategorized — carryrmu @ 10:28 am
Tags:
ชื่อ : นางสาวสุภาวดี ชาววปี   เพศ : หญิง 

 

รหัสบัตรนักศึกษา :  516248105   

รหัสบัตรประจำตัวประชาชน :  1440100092262

วันเดือนปีเกิด : 21 สิงหาคม  2530

ที่อยู่ปัจจุบัน : เลขที่ 20 ม. 3  ต.ดอนหว่าน  อ. เมือง  จ.  มหาสารคาม  44000

โทร.  089-0796798

ประวัติการศึกษา

ผลการเรียน GPA :

หลักสูตร :  ปริญญตรี  2  ปี

สาขาวิชา : เทคโนโลยีอุตสาหกรรม(คอมพิวเตอร์)

คณะ : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

ระยะเวลาที่ฝึกงาน : 23  มีนาคม  2552- 15  พฤษภาคม  2552

 

Hello world!

Filed under: Uncategorized — carryrmu @ 10:23 am

Welcome to WordPress.com. This is your first post. Edit or delete it and start blogging!