GNU General Public License (GNU-GPL) คือ สัญญาอนุญาตให้ใช้ซอฟต์แวร์ หรือไลเซนส์ แบบหนึ่ง ซึ่งสงวนลิขสิทธิ์ของซอฟต์แวร์นั้น แต่อนุญาตให้บุคคลใดๆทำซ้ำ เผยแพร่ และ/หรือดัดแปลงซอฟต์แวร์นั้นได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย และโดยเสรี
GNU General Public License มีจุดมุ่งหมายเพื่อประกันเสรีภาพของคุณในการแบ่งปันและแก้ไข “ฟรีซอฟต์แวร์” หรือ “ซอฟต์แวร์เสรี” (Free Software) เพื่อทำให้แน่ใจว่าซอฟต์แวร์จะเป็นสิ่งที่เสรีสำหรับผู้ใช้ทุกคน
ซอฟต์แวร์ที่ให้ไปพร้อมกับซอร์สโค้ด
ซอร์สโค้ด คือ ซอฟต์แวร์ต้นฉบับ โดยจะต้องสามารถอ่านเข้าใจ และอยู่ในรูปแบบที่สามารถปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมได้
ผู้ใช้ซอฟต์แวร์ Open Source มีอิสระในการนำไปใช้ นำไปแจกจ่าย และปรับปรุงแก้ไข โดยจะคิดค่าใช้จ่ายหรือไม่ก็ได้ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขในการอนุญาต
เอกสารอ้างอิง: The Open Source Initiative (OSI). The Open Source Definition.
ซอฟต์แวร์ Open Source ต่างกับซอฟต์แวร์อื่นอย่างไร?
* โดยทั่วไปรูปแบบของไลเซนต์ และการแจกจ่ายซอฟต์แวร์มีหลายรูปแบบ โดยสามารถจำแนกได้ตามเกณฑ์ 2 ด้าน คือ
1. การให้พร้อมซอร์สโค้ด
2. การคิดค่าใช้จ่าย
* ซอร์สโค้ด หมายถึง รหัสซอฟต์แวร์ต้นฉบับที่เขียนโดยภาษาระดับสูง ซึ่งแตกต่างจากไบนารีโค้ด เพราะซอฟต์แวร์ Open Source เปิดเผยโครงสร้าง และลอจิกของโปรแกรม
* ซอฟต์แวร์ที่ให้เฉพาะไบนารีโค้ดอย่างเดียว เรียกว่า ซอฟต์แวร์ปิด (closed source)
ไลเซนต์ Open Source ต่างกับไลเซนต์อื่นอย่างไร?
คำว่า “Open Source” หรือ “Free Software” ไม่เพียงพอสำหรับอธิบายไลเซนต์ของซอฟต์แวร์ โดยทั่วไปส่วนที่สำคัญของลิขสิทธิ์ (Copyright) จะอธิบายเกี่ยวกับสิทธิ์ในการทำสำเนา การแจกจ่าย และการดัดแปลง
สำหรับไลเซนต์ของโอเพ่นซอร์สจะเน้นใน 2 ประเด็น คือ
1. การยกเลิกค่าไลเซนต์ซอฟต์แวร์
2. การให้ซอร์สโค้ดมาพร้อมกับซอฟต์แวร์
* สิ่งที่ทำให้ไลเซนต์ของโอเพ่นซอร์สแตกต่างจากไลเซนต์อื่นๆ ก็คือ หลักการของ “Copyleft” โดย Copyleft จะมีข้อจำกัดอยู่ว่า ถ้ามีการพัฒนาซอฟต์แวร์เพิ่มเติมจากต้นฉบับ แล้วซอฟต์แวร์ตัวใหม่ต้องใช้ไลเซนต์เดียวกับต้นฉบับด้วย
* ไลเซนต์ Copyleft ที่สำคัญของซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์ส ก็คือ GPL
Public Domain
การกำหนดไลเซนต์เป็น “Public Domain” หมายถึง การยกเลิกลิขสิทธิ์ หรือ “Copyright”
o นิยามของ Public Domain อาจจะใช้ได้กับบางประเทศ เช่น อเมริกา แต่สำหรับบางประเทศเช่น เยอรมันจะใช้ไม่ได้ เพราะว่าจะไปขัดกับ German right
o ในอเมริกาส่วนใหญ่จะใช้ไลเซนต์นี้กับซอฟต์แวร์ที่พัฒนาโดยสถาบันการศึกษา หรือสถาบันวิจัย ซึ่งส่วนใหญ่ทางรัฐบาลจะเป็นผู้ให้เงินสนับสนุน ผู้ใช้ในอเมริกาจะสามารถนำไปใช้ได้โดยไม่มีข้อจำกัดใดๆ และอนุญาตให้นำไปทำเป็น Commercial Domain ได้ด้วย
Shareware
จุดมุ่งหมายของ Shareware ก็คือ ความพยายามที่จะให้มีการนำเอาซอฟต์แวร์ไปใช้ให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ Shareware จะให้เฉพาะไบนารีโค้ด และให้ใช้ซอฟต์เพียงช่วงเวลาสั้นๆ เท่านั้น เมื่อหมดเวลาทดลองใช้แล้ว ถ้าต้องการใช้ต่อก็ต้องเสียค่าใช้จ่าย
Freeware
เป็นไลเซนต์ที่ให้เฉพาะไบนารีโค้ดโดยไม่คิดค่าธรรมเนียมในการใช้งาน และเป็นไปได้ที่จะอนุญาตให้เฉพาะส่วนตัว หรือที่ไม่ใช้ในทางธุรกิจ ส่วนใหญ่บริษัทจะใช้ Freeware ในการโปรโมทผลิตภัณฑ์รอบๆ ข้าง เช่น ไมโครซอฟต์มี Internet Exploror เป็น Freeware เพื่อเป็นกลยุทธ์ในการครองตลาด เป็นต้น